โครงการสำรวจติดตั้ง ลุ่มน้ำยมและน่าน

โครงการสำรวจติดตั้งระบบตรวจวัดสถานภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติ

ลุ่มน้ำยมและน่าน : กรมทรัพยากรน้ำ

รายละเอียดการดำเนินงานของโครงการ

ศึกษาและออกแบบโครงข่ายตำแหน่งของสถานีตรวจวัดข้อมูลอุตุ- อุทกวิทยา และคุณภาพน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน พร้อมทั้งออกแบบระบบรับส่งข้อมูล (Data Communication Networks) จากสถานีสนามมายังสถานีหลักและสถานีรอง และพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ รวมทั้งระบบช่วยในการตัดสินใจ (Decision Supporting System, DSS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน โดยมีขอบเขตดังนี้

  • ศึกษาและออกแบบโครงข่ายตำแหน่งของสถานีตรวจวัดข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน โดยมีสถานีสนาม ไม่น้อยกว่า 8 สถานี
  • ศึกษาและออกแบบ ระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการลุ่มน้ำยมและน่าน โดยมีสถานีหลักตั้งอยู่ที่ ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรุงเทพฯ และมีการพัฒนาสถานีรองในพื้นที่อาคารเดิมของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • ศึกษาและออกแบบระบบรับส่งข้อมูล (Data Communication Networks) จากสถานีสนามมายังสถานีหลักและสถานีรองโดยเสนอระบบสื่อสารเป็นแบบสาย/ไร้สาย หรือระบบอื่นที่เหมาะสม
  • ศึกษาและพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ รวมทั้งระบบช่วยในการตัดสินใจ (Decision Supporting System, DSS) ในการประยุกต์ใช้งานเพื่อการบริหารจัดการน้ำ เฝ้าระวัง พยากรณ์น้ำ และเตือนภัย รวมถึงการเสนอแนะทางเลือก (scenarios)ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำโดยการพัฒนาโปรแกรมเพื่อแสดงผลของระบบช่วยในการตัดสินใจ ในรูปแบบของ แผนที่ ตารางสรุป กราฟ และรายงานสรุปผู้บริหารแบบ Automatic และ/หรือ Manual Real-time Operation ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน
  • จัดทำหมุดหลักฐาน (Bench mark) ที่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด บริเวณที่ทำการก่อสร้างสถานีสนามทุกแห่ง เพื่อใช้สำหรับการสอบเทียบค่าระดับของเสาระดับน้ำ (Staff Gauge)
  • จัดหาข้อมูลพื้นผิวระดับ (DEM, Digital Elevation Model) ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน ที่ประสบภัยน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเลือกใช้ขนาดความละเอียดข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) มาตราส่วน 1:4000 และพื้นที่อื่นๆ นอกเขตประสบภัยน้ำท่วมซ้ำซากเลือกใช้ขนาดความละเอียดข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) ตามที่กรมทรัพยากรน้ำกำหนด